ก่อนจะมาแจกแจงและทำความเข้าใจในสูตรนี้ลองมาทำความรู้จักคร่าวๆกับกับท่อดักท์ในงานปรับอากาศและระบายอากาศดูซักหน่อยว่าคุณรู้จักท่อดักท์ดีแค่ไหน มีสิ่งไหนบ้างที่นำมาเป็นปัจจัยหรือตัวแปรในการคำนวนขนาดท่อดักท์ โดยหน้าที่ของท่อดักท์แล้วมีหน้าที่ส่งลมจากเครื่องส่งลม ไม่ว่าจะเป็นแฟนคอยล์, AHU หรือแม้แต่พัดลมระบายอากาศไปจ่ายยังส่วนต่างๆในอาคารหรือนอกอาคาร เช่น Supply Air Duct ก็ทำหน้าที่ส่งลมเย็นไปจ่ายยังพื้นที่ปรับอากาศ, Exhaust air duct ก็ทำหน้าที่ส่งอากาศเสียภายในตัวอาคารไปปล่อยทิ้งนอกอาคารเป็นต้น
การแบ่งชนิดของท่อดักท์แบ่งตามความเร็วในท่อดักท์ ก็สามารถแบ่งได้ 2ประเภทคือ
· 1. ท่อดักท์ความเร็วต่ำ คือท่อดักท์ที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปตามอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน หรือโรงแรม มีความเร็วในท่อไม่เกิน 2,500 ฟุตต่อนาที(fpm) โดยมากแล้วจะนิยมกำหนดความเร็วอยู่ที่ประมาณ 800-2,000ฟุตต่อนาที(fpm)
· 2. ท่อดักท์ความเร็วสูง ที่ความเร็วในท่อเกิน 2,500 ฟุตต่อนาที(fpm) ซึ่งจะนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานส่งลมที่เฉพาะเจาะจงต้องการความเร็วสูงมาว่ากันต่อในเรื่องสูตคำนวนทีสามารถแจกแจงได้ดังนี้
จากสูตร Q=VA
Q=Quantity air อัตราการไหลของลมมี หน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที หรือ cfm.(Cubic Feet per minute),ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (CMH)
V=Velocity ความเร็วในท่อลมหน่วยเป็น ฟุตต่อนาที หรือ fpm.(Feet per minute),เมตร ต่อ วินาที (m/s)
A= Area พื้นที่หน้าตัดท่อดักท์ หน่วยเป็น ตารางฟุต(Square feet) ,ตร.ม. (Square meter) หาได้จาก กว้างxสูง ของหน้าตัดท่อลม
ตัวอย่าง แฟนคอยล์ขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง(400 cfm.) กำหนดความเร็วที่ 800 ฟุตต่อนาที จงคำนวนหาขนาดท่อส่งลมเย็น
จากสูตร Q=VA เรารู้ปริมาณลมและความเร็วแล้วดังนั้นสูตรจะกลายเป็น
A=Q/V
A=400 cfm./800 fpm.
A=0.5 sq.ft.
ตอนนี้เราได้พื้นที่หน้าตัดของท่อดักท์แล้ว แปลงหน่วยจากตารางฟุตให้เป็นตารางนิ้วโดยนำไปคูณกับ 144จะได้เท่ากับ 72 ตารางนิ้ว และหารด้วยความสูงท่อดักท์ ผมขอเป็นขนาด 6นิ้วแล้วกัน
เท่ากับ 72/6=12
หรือหาขนาดท่อจากตาราง
การหาขนาดท่อโดยใช้ตารางสามารถใช้ตารางข้างล่างเป็นการหาขนาดของท่อ